Category: Academic Life
-
ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างสรรค์ต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์
ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างสรรค์ต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์ ยุคสมัยแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI แบบสร้างสรรค์ (Generative AI) อย่างระบบ ChatGPT ที่สามารถสร้างข้อความได้อย่างน่าเชื่อถือในหลากหลายหัวข้อ เนื่องจากได้รับการฝึกฝนจากข้อมูลจำนวนมหาศาล งานวิจัยชิ้นล่าสุดได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่ ChatGPT มีต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์อย่างชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่อย่าง Stack Overflow ชุมชนบางแห่งประสบกับปัญหาการลดลงของการมีส่วนร่วม หลังจากการเปิดตัว ChatGPT นักวิจัยพบว่าจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ Stack Overflow ลดลงราว 12% และปริมาณคำถามใหม่ในหัวข้อยอดนิยมก็ลดลงกว่า 10% สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้ใช้หันไปพึ่งพา ChatGPT มากขึ้นแทนการตั้งคำถามในชุมชน ซึ่งอาจนำไปสู่วงจรแห่งความเสื่อมถอยของคุณภาพเนื้อหาได้ในระยะยาว ผลกระทบขึ้นอยู่กับประเภทของหัวข้อด้วยผลกระทบของ ChatGPT มีความแตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อ โดยหัวข้อที่เกี่ยวกับเครื่องมือโอเพ่นซอร์สและภาษาโปรแกรมทั่วไปอย่างไพธอนและอาร์ ได้รับผลกระทบมากกว่าหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะทางของบริษัท เนื่องจากข้อมูลฝึกสอน AI ในหัวข้อแรกมีอยู่มากกว่า ความสำคัญของพื้นฐานทางสังคมอย่างไรก็ตาม ความเสื่อมถอยของการมีส่วนร่วมจะพบได้น้อยในชุมชนที่มีพื้นฐานทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่นชุมชน Reddit เนื่องจากบทบาทของ AI ยังไม่สามารถทดแทนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการมีพื้นที่ทางสังคมสำหรับสมาชิกจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการธำรงรักษาชุมชนออนไลน์เหล่านี้ ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจจากผลกระทบที่พบ นักวิิจัยได้นำเสนอประเด็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาต่อไป ได้แก่ สรุปการมาถึงของ AI แบบสร้างสรรค์ย่อมส่งผลกระทบต่อวงการเทคโนโลยีและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์ที่อาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิก การทำความเข้าใจถึงผลกระทบเหล่านี้และวิธีการจัดการจะเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนเหล่านี้ต่อไป
-
การวัดคุณภาพของงานประชุมวิชาการ
ช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้ทำการส่งบทความทางวิชาการเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการนานาชาติ หน่วยงานแห่งหนึ่ง ได้ตั้งกฏในการให้เงินสนับสนุนสำหรับการเดินทางไปนำเสนองาน เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เอาไว้ว่า “งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในประเทศ ไม่มีเงินสนับสนุน” “ต้องไปต่างประเทศเท่านั้น คิดตามทวีป” แน่นอนว่าถึงไปต่างประเทศก็ได้เงินไม่ครอบครุมทั้งหมดแน่ Come on dude. งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ คุณภาพของงานประชุมวิชาการนานาชาติไม่ได้วัดกันที่ ในประเทศ หรือต่างประเทศ!!! ยกตัวอย่างเล่นๆ งานประชุมนานาชาติของ ITU http://telecomworld.itu.int/bangkok/ จัดที่กรุงเทพไปเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา สมมุติว่าผมมีความสามารถไปถึงระดับนั้นได้ ผมจะไม่ได้รับการสนับสนุนทันที เนื่องจากมันจัดในประเทศไทย!! What the Frak! คุณค่าของงานประชุมวิชาการ ไม่ได้วัดกันที่ประเทศที่จัด งานประชุมดีๆ เยอะแยะจัดในไทย ในทางกลับกัน งานประชุมวิชาการห่วยๆ จัดที่ต่างประเทศเยอะมาก อันที่จัดปลอมๆเพื่อทำธุรกิจก็มี เป็นแบบนี้ จะพัฒนาได้อย่างไร ทั้งตัวเราและ องค์กร มองไม่เห็นทางเลยครับ
-
Your Paper has been “Accepted” คำง่ายๆที่มีความหมายยิ่งใหญ่สำหรับนักวิชาการ
การยอมรับเพื่อเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ เวลาที่เราทำงานวิจัย หรือผลงานทางด้านวิชาการสำเร็จ ขั้นตอนที่สำคัญต่อมาก็คือการ ตีพิมพ์นั่นเอง การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ (จริงๆมีประเภทย่อยๆมากกว่านี้)นั่นคือ การตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซึ่งในการตีพิมพ์แต่ละครั้งนั้น จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาหรือสายนั้นๆ เป็นผู้ Review ผลงานของเรา เราเรียกว่า Peer Review บางครั้งในการประชุมที่ไม่มีคุณภาพก็อาจจะไม่มีคนรีวิวก็ได้ เมื่อมีคนรีวิวแล้วเค้าก็จะแจ้งผลการรีวิวให้เราทราบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จำนวนผู้รีวิวจะต้องมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผลของการตีพิมพ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่างดังนี้ ACCEPTED! ยอมรับ ตีพิมพ์ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข ACCEPTED With Revision ยอมรับ ถ้าแก้ไขตามที่บอกมาแล้ว REJECTED ไม่ยอมรับ ดังนั้น สำหรับนักวิชาการที่ส่งบทความไปตีพิมพ์แล้ว คำว่า ACCEPTED จะทำให้เค้าดีใจอย่างมาก ไม่เพียงแค่นักวิจัยผู้นั้นจะได้ไปแสดงผลงานที่ตัวเองทำงานมาอย่างหนักให้ผู้อื่นได้ทราบแล้ว แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอีกเสียงว่าตัวเองทำงานมาถูกทาง ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับที่ส่งไป สรุปแล้วคำว่า ACCEPTED หมายถึง ดีใจที่ได้ดีพิมพ์ เป็นผลงานทางวิชาการ งานที่ตัวเองทำมาอย่างหนัก ได้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล…