ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างสรรค์ต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์
ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างสรรค์ต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์ ยุคสมัยแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI แบบสร้างสรรค์ (Generative AI) อย่างระบบ ChatGPT ที่สามารถสร้างข้อความได้อย่างน่าเชื่อถือในหลากหลายหัวข้อ เนื่องจากได้รับการฝึกฝนจากข้อมูลจำนวนมหาศาล งานวิจัยชิ้นล่าสุดได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่ ChatGPT มีต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์อย่างชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่อย่าง Stack Overflow ชุมชนบางแห่งประสบกับปัญหาการลดลงของการมีส่วนร่วม หลังจากการเปิดตัว ChatGPT นักวิจัยพบว่าจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ Stack Overflow ลดลงราว 12% และปริมาณคำถามใหม่ในหัวข้อยอดนิยมก็ลดลงกว่า 10% สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้ใช้หันไปพึ่งพา ChatGPT มากขึ้นแทนการตั้งคำถามในชุมชน ซึ่งอาจนำไปสู่วงจรแห่งความเสื่อมถอยของคุณภาพเนื้อหาได้ในระยะยาว ผลกระทบขึ้นอยู่กับประเภทของหัวข้อด้วยผลกระทบของ ChatGPT มีความแตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อ โดยหัวข้อที่เกี่ยวกับเครื่องมือโอเพ่นซอร์สและภาษาโปรแกรมทั่วไปอย่างไพธอนและอาร์ ได้รับผลกระทบมากกว่าหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะทางของบริษัท เนื่องจากข้อมูลฝึกสอน AI ในหัวข้อแรกมีอยู่มากกว่า ความสำคัญของพื้นฐานทางสังคมอย่างไรก็ตาม ความเสื่อมถอยของการมีส่วนร่วมจะพบได้น้อยในชุมชนที่มีพื้นฐานทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่นชุมชน Reddit เนื่องจากบทบาทของ AI ยังไม่สามารถทดแทนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการมีพื้นที่ทางสังคมสำหรับสมาชิกจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการธำรงรักษาชุมชนออนไลน์เหล่านี้ ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจจากผลกระทบที่พบ นักวิิจัยได้นำเสนอประเด็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาต่อไป ได้แก่ สรุปการมาถึงของ AI แบบสร้างสรรค์ย่อมส่งผลกระทบต่อวงการเทคโนโลยีและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนแห่งความรู้ออนไลน์ที่อาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิก การทำความเข้าใจถึงผลกระทบเหล่านี้และวิธีการจัดการจะเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการศึกษาเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนเหล่านี้ต่อไป
การวัดคุณภาพของงานประชุมวิชาการ
ช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้ทำการส่งบทความทางวิชาการเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการนานาชาติ หน่วยงานแห่งหนึ่ง ได้ตั้งกฏในการให้เงินสนับสนุนสำหรับการเดินทางไปนำเสนองาน เช่น ค่าลงทะเบียน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เอาไว้ว่า “งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในประเทศ ไม่มีเงินสนับสนุน” “ต้องไปต่างประเทศเท่านั้น คิดตามทวีป” แน่นอนว่าถึงไปต่างประเทศก็ได้เงินไม่ครอบครุมทั้งหมดแน่ Come on dude. งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ คุณภาพของงานประชุมวิชาการนานาชาติไม่ได้วัดกันที่ ในประเทศ หรือต่างประเทศ!!! ยกตัวอย่างเล่นๆ งานประชุมนานาชาติของ ITU http://telecomworld.itu.int/bangkok/ จัดที่กรุงเทพไปเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา สมมุติว่าผมมีความสามารถไปถึงระดับนั้นได้ ผมจะไม่ได้รับการสนับสนุนทันที เนื่องจากมันจัดในประเทศไทย!! What the Frak! คุณค่าของงานประชุมวิชาการ ไม่ได้วัดกันที่ประเทศที่จัด งานประชุมดีๆ เยอะแยะจัดในไทย ในทางกลับกัน งานประชุมวิชาการห่วยๆ จัดที่ต่างประเทศเยอะมาก อันที่จัดปลอมๆเพื่อทำธุรกิจก็มี เป็นแบบนี้ จะพัฒนาได้อย่างไร ทั้งตัวเราและ องค์กร มองไม่เห็นทางเลยครับ
Your Paper has been “Accepted” คำง่ายๆที่มีความหมายยิ่งใหญ่สำหรับนักวิชาการ
การยอมรับเพื่อเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ เวลาที่เราทำงานวิจัย หรือผลงานทางด้านวิชาการสำเร็จ ขั้นตอนที่สำคัญต่อมาก็คือการ ตีพิมพ์นั่นเอง การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ (จริงๆมีประเภทย่อยๆมากกว่านี้)นั่นคือ การตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซึ่งในการตีพิมพ์แต่ละครั้งนั้น จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาหรือสายนั้นๆ เป็นผู้ Review ผลงานของเรา เราเรียกว่า Peer Review บางครั้งในการประชุมที่ไม่มีคุณภาพก็อาจจะไม่มีคนรีวิวก็ได้ เมื่อมีคนรีวิวแล้วเค้าก็จะแจ้งผลการรีวิวให้เราทราบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จำนวนผู้รีวิวจะต้องมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผลของการตีพิมพ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่างดังนี้ ACCEPTED! ยอมรับ ตีพิมพ์ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข ACCEPTED With Revision ยอมรับ ถ้าแก้ไขตามที่บอกมาแล้ว REJECTED ไม่ยอมรับ ดังนั้น สำหรับนักวิชาการที่ส่งบทความไปตีพิมพ์แล้ว คำว่า ACCEPTED จะทำให้เค้าดีใจอย่างมาก ไม่เพียงแค่นักวิจัยผู้นั้นจะได้ไปแสดงผลงานที่ตัวเองทำงานมาอย่างหนักให้ผู้อื่นได้ทราบแล้ว แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอีกเสียงว่าตัวเองทำงานมาถูกทาง ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับที่ส่งไป สรุปแล้วคำว่า ACCEPTED หมายถึง ดีใจที่ได้ดีพิมพ์ เป็นผลงานทางวิชาการ งานที่ตัวเองทำมาอย่างหนัก ได้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล […]